เทคโนโลยี ภาพเสียงไร้สาย

จัดทำโดย
นายอาทิตย์ ยลระบิล รหัสนักศึกษา 6031280069
 
เทคโนโลยี ภาพเสียงไร้สาย
DLNA
ในตอนนี้ที่ไทยมี Google Chromecast เข้ามาขายอย่างเป็นทางการแล้ว และเราก็ได้ทดลองให้ดูกันไปรอบหนึ่งแล้วว่า Chromecast นั้นมีความสามารถอะไรบ้าง เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะยังสงสัยคาใจว่าตอนนี้ในตลาดมีเทคโนโลยีส่งภาพขึ้นจออื่นเต็มไปหมด ไมว่าจะเป็น AirPlay, Miracast, DLNA, Chromecast และอีกสารพัดชื่อที่ผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็ใช้ชื่อไม่เหมือนกันอีก ผมก็เลยไปค้นข้อมูลมาว่าแต่ละตัวนั้นมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

DLNA

dlna-2-logo
เอาเป็นว่าเริ่มจากเทคโนโลยีตัวที่เก่าที่สุดก่อนเลยก็แล้วกัน นั่นก็คือ DLNA จริงๆ ต้องบอกกันไว้หน่อยว่า DLNA  (ดีแอลเอ็นเอ) มีชื่อเต็มๆ คือ Digital Living Network Alliance เป็นชื่อของกลุ่มความร่วมมือ ไม่ใช่ชื่อเทคโนโลยีโดยตรง โดยกลุ่มนี้ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นมาตอนปี 2003 กลุ่มของ DLNA เป็นความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายเจ้า โดยมีหัวหอกคือ Sony (จึงไม่แปลกที่เราเห็นสินค้าโซนี่รองรับมาตรฐานแทบทั้งนั้น) ในตลาดก็ติดปากพูดกันว่าเป็นสินค้า DLNA certified ผมก็ขอเรียกมันว่าเทคโนโลยี DLNA นี่แหละ
ลักษณะการเชื่อมต่อของ DLNA
dlna-diagram
ภาพจาก : https://gl.access-company.com/products/itelectoronics/livingconnect/dlna_use_cases/
ตัว DLNA นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เน้นการใช้งานในพื้นที่ส่วนตัว สมชื่อ Digital Living (แรกเริ่มมีชื่อว่า Digital Home Working Group ด้วยซ้ำ) ใช้หลักการของ Universal Plug and Play (uPnP) ที่ใช้อินเตอร์เน็ตวงเดียวกันเพื่อค้นหาอุปกรณ์และสั่งงาน การทำงานของ DLNA นั้นจะเป็นลักษณะของการชี้เป้าให้อุปกรณ์แสดงผลสามารถดึงข้อมูลจากอุปกรณ์อีกตัวผ่านวง LAN เดียวกัน เช่น ให้ทีวีดึงหนังจากฮาร์ดดิสก์ NAS มาเล่น หรือการเอาเพลงจากมือถือไปเล่นบนลำโพงที่รองรับ โดยอุปกรณ์ที่สั่งงานนั้นไม่จำเป็นต้องเปิดอยู่ตลอดเวลา สำหรับจุดด้อยของ DLNA คือไม่สามารถดึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตภายนอกโดยตรงไม่ได้ จะเป็นการเอาข้อมูลที่เข้าถึงได้ในวง LAN เท่านั้น

Apple TV (AirPlay)

Apple TV นั้นเป็นอุปกรณ์ของทางแอปเปิลที่ผลิตออกมาเพื่อเชื่อมต่อให้ทีวีมีความสามารถมากยิ่งขึ้น ทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ tvOS ในตัวและเทคโนโลยี AirPlay แต่ผมจะจับในแง่ของ AirPlay ที่เป็นการเชื่อมต่อไร้สายมาพูดถึง
apple-tv-airplay
พูดถึง AirPlay ก็เล่าประวัติหน่อยแล้วกัน ตั้งแต่แรกก่อน AirPlay จะกำเนิดขึ้นมานั้นแอปเปิลเคยพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบที่ชื่อว่า AirTunes ขึ้นมาในช่วงปี 2004 แต่ความสามารถ ณ ตอนนั้นสามารถทำได้แค่การส่งไฟล์เสียงไปเล่นบนเครื่องเล่นเท่านั้น จนมาถึงปี 2010 ที่แอปเปิลได้เปิดตัว AppleTV และ AirPlay ที่สามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงพร้อมกันได้
airplay-device
สำหรับ AirPlay บน Apple TV นั้นจะสามารถใช้งานได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ นั่นก็คือ
1. รูปแบบการสตรีม หรือก็คือตัวที่เรียกว่า AirPlay เปล่าๆ นั่นแหละ สามารถสตรีมวิดีโอ,เพลง จากเครื่อง หรือผ่านแอปที่
รองรับไปเข้า Apple TV เพื่อแสดงบนทีวี ระหว่างนั้นอุปกรณ์ที่สั่งก็สามารถใช้งานอย่างอื่นได้ รวมถึงใช้เป็นรีโมทได้
2. รูปแบบ Mirroring หรือ AirPlay Mirroring แสดงภาพจอของอุปกรณ์บนหน้าจอทีวีที่ต่อกับ Apple TV โดยโหมดนี้จะเป็นการถ่ายทอดภาพ เราจิ้ม ขยับอะไรในอุปกรณ์ ก็จะแสดงผลบนจอทีวีเหมือนกัน เพียงแต่จะซ่อนเมนูบางอย่างออกให้ เช่น สถานะเครื่อง (แบต, สัญญาณ Wi-Fi)
แต่ข้อด้อยที่ต้องพูดถึงของ Apple TV ก็คือการที่รองรับการเชื่อมต่อแค่กับอุปกรณ์ Apple เท่านั้น หรือก็คือใช้ได้แค่กับระบบ iOS กับ Macbook อุปกรณ์อื่นๆ จากฝั่ง PC, Android มาใช้ร่วมไม่ได้

Miracast

เทคโนโลยี Miracast นั้นเรียกว่าเป็น AirPlay สำหรับอุปกรณ์ทั่วไปก็คงไม่ผิดนัก เพราะมีลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีนี้ก็มีส่วนคล้ายกับ AirPlay ของทางแอปเปิล ชื่อ Miracast นั้นถูกประกาศขึ้นในปี 2012 โดยกลุ่ม Wi-Fi Aliance เทคโนโลยีเบื้องหลังของ Miracast ก็คือ Wi-Fi Direct นั่นเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องต่อเข้า Router เรียกได้ว่าเหมอนกับ Wireless HDMI ก็ว่าได้ แล้วก็มีการผลักดันกันในอุตสาหกรรมเกิดขึ้น โดยทาง Google เองก็ทำให้ Android 4.2 ขึ้นไปรองรับการใช้ Miracast ด้วย
miracast-logo
การทำงานของเทคโนโลยี Miracast นั้นจะเป็นลักษณะของ Screen Mirrioring คล้ายกับโหมด AirPlay Mirroring ของบน Apple TV ต่างกันตรงที่อุปกรณ์ที่จับคู่กันไม่จำเป็นต้องต่อ Wi-Fi ในวงเดียวกัน และหน้าจอที่ Miracast ส่งไปขึ้นทีวีนั้นจะเป็นการแสดงผลแบบเหมือนกันเป๊ะๆ แถบแสดงสถานะของเครื่อง แถบควบคุมวิดีโอ/เสียง ก็แสดงขึ้นไปหมด เมื่อนำไปเทียบกับผลที่ได้บน Apple TV จุดนี้จึงกลายเป็นข้อด้อยของ Miracast ไปโดยปริยาย
miracast-sample
ภาพจาก: Sam Churchill, http://www.flickr.com/photos/samchurchill/8135967427
แม้ว่าผู้ผลิตจำนวนมากจะนำเทคโนโลยี Miracast ไปใช้ในผลิตภัณฑ์ตัวเองอย่างแพร่หลาย แต่ทว่า ด้วยเหตุที่ Miracast นั้นไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ชัดเจนทั้งในเรื่องของ Latency (ช่วงเวลาหน่วง) ที่ไม่ได้กำหนดเพดานสูงสุดไว้, การใช้งานอุปกรณ์เสริมบางอย่างที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างผู้ผลิตมาเจอกันแล้วใช้งานไม่ได้ และการตั้งชื่อของผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็เละเทะจนผู้ใช้ไม่รู้ว่ามันคือเทคโนโลยี Miracast ตัวเดียวกัน ตัวอย่างเช่น LG ใช้ชื้อว่า SmartShare, Samsung ใช้ชื่อว่า AllShare Cast, Panasonic ตั้งชื่อว่า Display Mirroring และ Sony ก็ตั้งว่า Screen Mirroring


ezcast 

EZCast 5G

 

EZCast 5G รุ่นใหม่ล่าสุด ที่จะมาทดแทน EZCast W2 ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของไวไฟให้ดีขึ้น เสถียรขึ้น อีกทั้งฮาร์ดแวร์ชุดใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม
เปลี่ยน TVธรรมดาๆ คุณให้สามารถเชื่อมต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ คุณสามารถดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ได้โดยการควบคุมผ่าน Smart Phone (Android/Iphone),Tablet และคอมพิวเตอร์ จะสามารถแชร์ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์ Documet Ebook หรือแม้กระทั่งเกมส์ เข้าสู่จอTV ได้เลย
รองรับ iOS 8.0+, MacOS10.8+ , Windows8.1+, Android 4.3+
 

 

 

wecast



ข้อมูลผลิตภัณฑ์

สเปค
แบรนด์ Wecast
โมเด็มรับสัญญาณ HDMI Dongle Wifi
Wi-Fi แบบไร้สาย Wi-Fi 802.11b / g / n แสดง Miracast / Wi-Fi: ใช้ Wi-Fi Direct Support Miracast, โปรโตคอลการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย DLNA
อื่น ๆ ถอดรหัสวิดีโอความละเอียดสูง (1080p @ 60fps)
Airplay: สำหรับอุปกรณ์ IOS
Miracast: สำหรับ Android 4.2 ขึ้นไป
I / O: HDMI 1.4; พอร์ต USB ขนาดเล็กสำหรับแหล่งจ่ายไฟ
การออกอากาศ: สนับสนุนวิดีโอและภาพที่สนับสนุนการทำงานของภาพสะท้อน
DLNA: แสดงภาพเสียงและวิดีโอบนโปรโตคอล DLNA, Android OS
สนับสนุนโทรศัพท์แอนดรอยด์: สำหรับ Samsung Note3 / Galaxy S3 / Galaxy S4 สำหรับ MI 2 / MI 2S GIONEE OPPO find5 ZTE nubia AMOI N828
แท็บเล็ตสนับสนุน: Android 4.2 OS
ระบบปฏิบัติการ Linux OS, Kernel: 3.0.8+
CPU RK2928, 1.2GHz, Cortex A9
RAM 256MB DDR3

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องบันทึกเงินสด (Cash Register)