จัดทำโดย
นายอาทิตย์ ยลระบิล รหัสนักศึกษา 6031280069

หน่วยความจำ กราฟิกการ์ด

1.หน่วยความจำ
- 1.1 Computer memory
     หน่วยความจำหลัก คือ หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้หน่วยประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
     หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำเรียกว่าไบต์ (byte) 1 ไบต์ จะประกอบไปด้วย 8 บิต นอกจากนี้ยังมีหน่วยเป็นกิโลไบต์ (kilobyte หรือ KB ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ , เมกะไบต์ (megabyte หรือ MB) มีค่าโดยประมาณหนึ่งล้านไบต์ หรือ 1,024 KB , กิกะไบต์ ( gigabyte หรือ GB ) มีค่าประมาณหนึ่งพันล้านไบต์หรือหนึ่งล้านกิโลไบต์และเทราไบต์ ( terabyte หรือ TB ) มีค่าประมาณหนึ่งล้านล้านไบต์ หน่วยความจุของข้อมูลในหน่วยความจำสรุปได้ดังนี้                     8 bits = 1 byte
1024 bytes = 1 kilobyte (KB)
1024 KB = 1 megabyte (MB)
1024 MB = 1 gigabyte (GB)
1024 GB = 1 terabyte (TB)


- 1.2 ROM
     (Read  Only Memory) หรือ ROM เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม


- 1.3 RAM

     RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์




- 1.4. SD RAM
     SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้นมา
     ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และ PC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น


1.5. DDR RAM
     DDR RAM ย่อมาจาก Double Data Rate Random-Access Memory ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ หรือ CPU (Central Processing Unit) ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี DDR RAM มาด้วย ก็จะสามารถทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์รุ่นเดียวกันที่ติดตั้ง RAM ชนิดปกติมาให้


1.6. Single-channel memory
     Single-channel memory เมื่อสมัยก่อนที่ยังไม่มี multi-channel memory นี้ หน่วยความจำบนคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบช่องทางเดียว (single-channel) ดังนี้:

[ Memory Controller ] < ---------64-bit bus width ----------- > [RAM0] + [RAM1]
ยกตัวอย่าง bandwidth สูงสุดในทางทฤษฎี (ใช้แรม DDR3-1600): 800 * 2 * 64 / 8 = 12,800 MB/s


1.7. Dual channel memory
     Dual-Channel memory เป็นสถาปัตยกรรมหน่วยความจำที่จำเป็นต้องติดตั้ง RAM เป็นอย่างน้อย 2 แถว (และควรจะมี spec เหมือนกันหมด)
เพื่อขยาย bandwidth ขึ้นไป 2 เท่า ... และ Dual-channel memory architecture ก็จะมีแยกย่อยลงไปอีกเรียงไปตามยุคสมัยดังนี้:
Ganged Mode
[ Memory Controller ] < ----- 128-bit data bus ---- > [RAM0 + RAM1]
ก็จะเห็นได้ว่า bus width ของแรมได้ขยายขึ้นจากเดิม 2 เท่า โดยคิดว่า RAM ทั้งหมดเป็นก้อนเดียวกัน

Unganged mode
[ Memory ] < ------- 64-bit bus width -------> [RAM0]
[ Controller ] < ------- 64-bit bus width -------> [RAM1]

แต่พอถึงยุคของ CPU แบบ multi-core (dual-core, quad-core) ก็เกิดโหมดการทำงานของ dual-channel ใหม่ขึ้นมา
เรียกว่า Unganged mode ซึ่งโหมดนี้จะทำให้ RAM แต่ละ channel แบ่งกันทำงานพร้อม ๆ กันได้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงานแบบ multi-thread นั่นเอง

ยกตัวอย่าง bandwidth สูงสุดในทางทฤษฎี (DDR3-1600): 800 * 2 * 128 / 8 = 21,600 MB/s


1.8 การติดตั้ง RAM


   
แหล่งอ้างอิงข้อมูล RAM
- http://www.tanasan.co.th/index.php/blog/item/5-aliquam-erat-volutpat-nam-sem-urna-sagittis-ac-tempor-non.html

- http://www.comgeeks.net/ddr-ram/ 




2.กราฟิกการ์ด

- 2.1 ชื่อเรียกอื่นๆของกราฟิกการ์ด
     Video Card, Display Card, Graphic Adapter, Graphics Card, Video Card, Video Board, Video Display Board, Display Adapter, Video Adapter.


- 2.2 หลักการทำงานของกราฟิกการ์ด
      Graphics Processing Unit  (GPU) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้คือ  visual processing unit  (VPU) ซึ่ง GPUหน้าที่หลักของ GPU ก็คือช่วยในการประมวลการทำงานในด้านภาพกราฟฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหลักการทำงานก็คล้ายกับ CPU แต่ จะแตกต่างกันตรงที่ การ์ดแสดงผลสมัยเก่า ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสความนิยมของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำ ให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้ เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GRAPHICS PROCESSING UNIT โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก



- 2.3 ตัวประมวลผลกราฟิกการ์ด (GPU)     
      GPU: graphics processing unit หรือ หน่วยประมวลผลทางภาพ คือหน่วยประมวลผลพิเศษที่รับภาระการให้แสงและเงาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแทนหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยประมวลผลกราฟิกส์มีได้ทั้งที่เป็นการ์ดหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรหลักก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ในรูปของการ์ดแสดงผล


- 2.4 หน่วยความจำของกราฟิกการ์ด
     การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่เราเรียกติดปากกันนั้น มีส่วนหนึ่งที่เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลก็คือ ความเร็วของหน่วยความจำ (RAM) บนการ์ดแสดงผล เพราะชิปกราฟิกจะต้องติดต่อกับหน่วยความจำตลอดเวลา และการประมวลผลกราฟิกต่างๆ นั้นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ดังนั้น การ์ดแสดงผลที่มีแรมจำนวนมาก และทำงานได้รวดเร็วจะส่งผลการ์ดแสดงผลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประเภทของหน่วยความจำที่นิยมมาใช้กับการ์ดแสดงผล
RAM DDR2  -ทำงานเช่นเดียวกับแรม DDR 2 ของคอมพิวเตอร์
RAM GDDR2 -เป็นแรมที่ออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผล
RAM GDDR3 -แรม DDR3 สำหรับการ์ดแสดงผลรองรับความเร็วที่ 1 GHz ขึ้นไป
RAM GDDR4 -แรม DDR4 สำหรับการ์ดแสดงผลรองรับความเร็วที่ 1.5 GHz ขึ้นไป
RAM GDDR5 -แรม DDR5 สำหรับการ์ดแสดงผลรองรับความเร็วที่ 2 GHz ขึ้นไป


- 2.5 มาตรฐานช่องติดตั้งการฟิกการ์ด
     PCI ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnection คือช่องเสียบอุปกรณ์ ต่าง ๆ อาทิ การ์ดเสียง การ์ด Network โมเด็มแบบ Internal แม้กระทั่งการ์จอ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานควบคู่ไปกับซีพียูได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง PCI มีความสามารถที่จะส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยมีแบนด์วิดท์ (Band width) อยู่ที่ 32 บิต และ 64 บิต โดย PCI แบบ 64 บิตนี้เราจะเรียกว่า PCI-X โดยความเร็วในการส่งข้อมูลของ บัส 32 บิตนั้นสามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 132 MB/Sec แต่ถ้าเป็นบัสขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วอยู่ที่ 264MB/Sec ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่เกี่ยวกับกราฟฟิกที่ต้องการความละเอียดสูง


2.6 การวัดประสิทธิภาพของการฟิกการ์ด
     GPU-Z คืออีกหนึ่งโปรแกรมดูการ์ดจอที่น่าจะมีติดเครื่องไว้ เหมาะสำหรับ เซียนคอม หรือร้านประกอบคอมพิวเตอร์ เอาไว้ใช้ดูข้อมูลต่างๆ ของ การ์ดจอ และหน่วยประมวลผลกราฟฟิคของมันหรือที่
เรียกว่า GPU ซึ่งย่อมาจาก Graphic Processing Unit ที่ทำงานอยู่บนเครื่องของเรา ไว้เช็คว่ามีประสิทธิภาพของการ์ดจอเป็นอย่างไร มีความเร็วเท่าไหร่ หน่วยความจำเท่าไหร่ และเพียงพอสำหรับเกมส์หรือโปรแกรมที่ต้องการใช้งานจริงๆ หรือไม่ ลูกค้าเองก็สามารถดาวน์โหลดมาเพื่อดูว่า โดนร้านค้าหลอกสเปคการ์ดจอต่างๆ มาหรือเปล่า โดยข้อมูลที่ตัวโปรแกรม ดูการ์ดจอ GPU-Z นี้สามารถตรวจดูได้นั้น สามารถดูได้อย่างละเอียดจริงๆ

วีดีโอการทดสอบประสิทธิภาพของ GPU



แหล่งอ้างอิงข้อมูล GPU
- https://downloaddd.in.th/knowledge/computer/graphic-card

- http://itsentre.blogspot.com/2013/04/blog-post.html







      

  









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องบันทึกเงินสด (Cash Register)