เครื่องบันทึกเงินสด (Cash Register)

จัดทำโดย
นายอาทิตย์ ยลระบิล รหัสนักศึกษา 6031280069


เครื่องบันทึกเงินสด (Cash Register)


       เครื่องบันทึกเงินสด (Cash Register) เป็นอุปกรณ์เครื่องกลหรืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้บันทึกการขาย พร้อมติดตั้งลิ้นชักสำหรับเก็บเงินสด เป็นเครื่องคำนวณเลขชนิดแป้นเต็ม (Full Keyboard Adding Machine) มีลักษณะเป็นแป้นตัวเลขหลายแถว เรียงตามหมายเลขตามแนวดิ่งจากเลข 1 ถึง 9 จำนวนแถวขึ้นอยู่กับจำนวนหลักที่ต้องการ สามารถบวก ลบ คูณ หารได้ในเครื่อง และมีบัตรแสดงรายการ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งให้ลูกค้าแทนใบเสร็จรับเงิน อีกส่วนหนึ่งม้วนอยู่ภายในเครื่องแสดงหลักฐานการรับเงิน

พนักงานเก็บเงิน (Cashier) จะต้องออกใบเสร็จการขายให้ลูกค้าทุกครั้ง และเมื่อกดรายการแต่ละครั้ง เครื่องจะบันทึกจำนวนเงินทั้งในส่วนของลูกค้าและส่วนที่อยู่ในเครื่อง เมื่อเสร็จสิ้นการรับเงินในหนึ่งวัน ฝ่ายตรวจสอบจะรวมจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละวันจากเครื่อง และตรวจนับเงินที่ได้รับจริงซึ่งจะต้องตรงกัน ถ้าเงินที่รับจริงมีจำนวนที่ต่ำกว่าจำนวนเงินจากยอดรวมในเครื่อง พนักงานเก็บเงินจะต้องรับผิดชอบจำนวนเงินที่ขาดหายไป

ใบเสร็จรับเงิน (receipt)
ใบเสร็จรับเงิน (อังกฤษ: receipt) หรือ ใบเสร็จ เป็นเอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว การออกเอกสารดังกล่าวบางกรณีอาจออกเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในใบเสร็จรับเงินทั่วไปมักระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันและราคาที่ตกลงชำระ ซึ่งอาจระบุข้อมูลภาษีที่เกี่ยวข้องที่ผู้รับชำระเงินเก็บและนำส่งรัฐบาลอีกด้วย

ใบเสร็จรับเงินในประเทศไทยใบเสร็จรับเงินในประเทศไทยอาจจำแนกตามลักษณะการออกเอกสารได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

- บิลเหลือง หรือ ใบเสร็จ รับเงินที่ออกให้โดยผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

- ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
          - ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่มีข้อมูลที่อยู่ลูกค้า เช่น เอกสารแผ่นเล็กๆ ที่ได้มาเมื่อซื้อสินค้าในร้ายสะดวกซื้อ ถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีในใบเดียวกัน
         - ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ มักเป็นเอกสารชุดที่ออกพร้อมใบกำกับภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Tax หรือ VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (อังกฤษ: Value Added Tax หรือ VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้